หลักฐานเอกสารโบราณปรากฏนามเมืองหรือรัฐสำคัญแห่งหนึ่ง
บนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียง ตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น
หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน) ลัคาโศกะ อิลังคาโศกะ
(ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ) เล็งกุสะ (ภาษาขวา) ลังคะศุกา
(ภาษาอาหรับ) ลังกะสุกะ สังกาสุกะ (ภาษามลายู)
โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกันที่
น่าจะเคยตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
และจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน
นักวิชาการทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดีเชื่อว่า ปัตตานี เป็นที่แวะพักจอดเรือ
เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออกและชนพื้นเมืองบน
แผ่นดินและหมูเกาะใกล้เคียงต่างๆ
นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าเดิมปัตตานีเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่และมีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เนื่องจากมีหลักฐานทาง
โบราณคดีว่า บริเวณอำเภอยะรัง มีซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง ๓ เมือง มีวัตถุโบราณ
สถานที่ศาสนสถานหลายแห่ง นอกจากนี้ยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก โดยวัตถุบางชิ้นมีตัวอักษร
ซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็น คาถาในพุทธศาสนาลัทธิ
มหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์ และเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึง ๑๓ สอดคล้องกับจดหมาย
เหตุจีนที่ได้กล่าวถึงไว้ นอกจากนั้นหลักฐานได้ขุดค้นพบ ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่ตั้งอำเภอยะรังในปัจจุบัน
เป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตและต่อมาได้ย้ายเมืองปัตตานีมาบริเวณบ้านพรือเซะ สันนิษฐานว่า เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ทำให้เมืองเดิมไม่เหมาะในการเป็นเมืองท่าการค้า