• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
น้อง
18.38
น้อง
สวัสดีคะ...วันนี้มีอะไรให้ช่วยค่ะ ถามน้องมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้นะค่ะ.
18.38
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
เกษตรกรรมยั่งยืน ฮาลาลคุณภาพ ทุนทางสังคมและชุมชนเข้มแข็ง
ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมนำสู่สันติสุข
คำอธิบายเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
     1. จุดยืนและตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัด (Positioning)
       1) การส่งเสริมและการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้จังหวัดให้เป็นศูนย์กลางทางด้านเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนและการยกระดับการท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่า ด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
       2)การส่งเสริมและการพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางทางด้านผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ
       3) การพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ ลดความยากจนข้ามรุ่น บนพื้นฐานสังคมแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม
       4) การพัฒนาและสร้างเครือข่ายของชุมชนให้เข้มแข็ง พี่งตนเองได้เกื้อกูลกันและกัน และ มีศักยภาพในการจัดการพื้นที่ให้มีความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย
     2. เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด

“เกษตรกรรมยั่งยืน ฮาลาลคุณภาพ
ทุนทางสังคมและชุมชนเข้มแข็ง
ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมนำสู่สันติสุข”
(Sustainable Agriculture, Halal Quality,
Social Capital and Community Empowerment,
Endorsing the Multicultural Society to Promote Peace)

     คำอธิบายเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
     เกษตรกรรมยั่งยืน หมายถึง การผลักดันเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ทั้งด้านการเพาะปลูกพืชผล ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ด้านการป่าไม้ ในรูปแบบต่างๆ แบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรหมุนเวียน เกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม เกษตรปลอดภัย เกษตรธรรมชาติ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรประณีต ด้วยการพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ การพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการและเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) การสนับสนุนระดับครัวเรือนในการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน การเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้นพัฒนาการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานรองรับในระดับประเทศและต่างประเทศโดยรวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีและส่งเสริมนวัตกรรมทางการเกษตรเข้ามาส่งเสริมให้เกิดมูลค่าและเพิ่มมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปของผลผลิตที่ยังไม่ได้แปรรูปและแปรรูปอย่างยั่งยืนและการสร้างเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการใช้ประโยชน์และแปลงของเสียภาคการเกษตรให้เป็นแหล่งรายได้การเชื่อมโยงเกษตรกรรมกับภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
     ฮาลาลคุณภาพ หมายถึง การนำปรัชญา วิถีปฏิบัติของศาสนาอิสลามในส่วนของฮาลาล มาเป็นกรอบมาตรฐานในการผลิตสินค้า/ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อการบริโภคเชิงพาณิชย์ ที่มีเป้าหมายและกำหนด ให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางของแหล่งผลิตฮาลาลที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างงานและสร้างรายได้ พร้อมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมฮาลาลและผู้ประกอบการฮาลาลให้มีศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันพัฒนาศักยภาพจังหวัดปัตตานีให้เป็นศูนย์กลางฮาลาลคุณภาพ
     ทุนทางสังคมและชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง การร้อยรัด เชื่อมโยง และมีเครือข่ายการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ทำให้สังคมก้าวหน้าได้อย่างมั่นคงและมีสุข การสร้างมูลค่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมบนฐานของทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ เน้นการท่องเที่ยวโดยชุมชน การพัฒนาระบบคุณค่าของสังคมที่มีคุณธรรมในวงกว้างและยั่งยืน เสริมสร้างและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพลเมือง โดยมีโครงสร้างทุนทางสังคมที่สืบทอดภูมิปัญญาอัตลักษณ์โดดเด่น ระบบคุณค่าที่เป็นความภาคภูมิใจของพลเมืองปัตตานี การสร้างหลักประกันความคุ้มครองทางสังคมให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การพัฒนาทุนมนุษย์ทุกระดับเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการสร้างรายได้การสร้างหลักประกันให้ระบบการศึกษามีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและครอบคลุม ส่งสริมนวัตกรรมการศึกษาการส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีทักษะและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับครอบครัว การเข้าถึงบริการสาธารณะ ด้านสวัสดิการของรัฐ สังคมมีระบบคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศและเสริมสร้างความสุขการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิงศักยภาพของกลุ่มประชาสังคมพึ่งตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพนวัตกรรมทางสังคมและนวัตกรรมชุมชนระบบการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานภาครัฐมีความมุ่งมั่นพัฒนาให้มีประสิทธิภาพความทันสมัยต่อเนื่องและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง การเชื่อมโยงการทำงานและสร้างความไว้วางใจระหว่างกันระหว่างภาคประชาชนและรัฐในทุกระดับผู้นำทางความคิดในท้องถิ่นเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชน การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกลุ่มคนทุกช่วงวัย
     สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข หมายถึง ปัตตานีเป็นพื้นที่ที่ยอมรับ ให้เกียรติ และอยู่ร่วมกันได้บนความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งมุสลิม พุทธ และวัฒนธรรมจีน การให้พื้นที่แห่งการแสดงออก ซึ่งอัตลักษณ์และตัวตน ประชาชนสามารถมีวิถีชีวิตไปตามศรัทธาและการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีมีพื้นที่ทางสังคมในการสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในแนวทางการแก้ปัญหาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยหลักคิด แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง รวมทั้งมุ่งเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาความมั่นคงอย่างยั่งยืนโดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในความแตกต่างของศาสนา วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ให้สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
     3. ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
     เป้าหมายรวมของการพัฒนาจังหวัดปัตตานี ในห้วง พ.ศ. 2566–2570 ประกอบด้วย 3 เป้าประสงค์หลัก คือ เศรษฐกิจฐานรากเติบโต ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้และมีงานทำ และสังคมสันติสุข
     4. ประเด็นการพัฒนาจังหวัด
    1) เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก การเกษตรแบบยั่งยืน ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลคุณภาพ เชื่อมโยงการท่องเที่ยว การค้าการบริการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
       2) พัฒนาสังคมและศักยภาพคนทุกช่วงวัย ชุมชนน่าอยู่ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
       3) ลดความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำ ภายใต้บริบทสังคมพหุวัฒนธรรมเข้มแข็ง
       4) เสริมสร้างความมั่นคงและสังคมแห่งสันติสุข