
“เกาะเญอลาปี” (Pulau Jelapi) ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอสายบุรีกับอำเภอไม้แก่ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศน์ที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ปลาหลายชนิดที่ได้รับการนิยมในการตกปลามีปะการังที่มีความแตกต่างจากที่อื่นในพื้นที่ทะเลของประเทศไทย เพราะมีสภาพพื้นดินที่เป็นดินเหนียว ทรายและหินในพื้นที่เดียวกันเดิมเกาะเญอลาปีมีสภาพสมบูรณ์มีต้นลำเพ็งทะเล ต้นมะพร้าว ต้นไทร และที่อาศัยของนกต่างๆ อาทิ นกนางนวล นกจามา(กระทา) ปัจจุบันเกาะเล่าปี่มีสภาพดังรูปภาพประกอบ เพราะฝีมือมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ทำลาย
มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับความเป็นมาของเกาะเญอลาปี (Pulau Jelapi) ว่า เกาะนี้มาจากชื่อคนซึ่งในสมัยก่อนมีครอบครัวหนึ่งมีฐานะยากจนมาก วันหนึ่งลูกสาวออกไปทำงานต่างประเทศแล้วได้สามีรวยเป็นถึงกษัตริย์อยู่กินกันนานจนไม่อยากกลับมาทางมารดาขอดุอาจากพระผู้เป็นเจ้าทุกวันทุกคืนเพื่อให้ลูกสาวกลับมาอยากเจอหน้าลูกพระผู้เป็นเจ้าจึงดลบันดาลให้ลูกสาวรู้สึกอยากกลับบ้าน ทำให้นางจึงตัดสินใจจะกลับบ้าน เมื่อมารดาได้รู้ข่าวว่าลูกสาวจะกลับมา มารดาจึงได้ทำขนมจีนซึ่งเป็นอาหารสุดโปรดของลูกสาว พายเรือหาลูกสาวที่เรือสำเภาลำใหญ่ด้วยอาการที่ปราบปลื้มดีใจเพราะความที่คิดถึงลูกมากๆ เมื่อทั้งสองได้เจอกัน ลูกสาวกลับไม่สนใจไม่ยอมรับว่าเป็นมารดาของตน เพราะนางช่างสกปรก ยากจน (ยาจก) มารดา จึงเทขนมจีนเททุกอย่างที่มารดานั้นตั้งใจจะมาให้ลูก ซึ่งปัจจุบันขนมจีนที่มารดาเททิ้งกลายเป็นสาหร่าย มารดาจึงพายเรือกลับที่ท่าเรือเขาบูโด อยู่ๆ ก็มีพายุมาโหมกระหน่ำเรือสำเภาของลูกสาวจนล่ม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมาจากการขอดุอาของมารดาต่อพระผู้เป็นเจ้า (สาบแช่ง) ด้วยความที่น้อยใจเพราะว่าลูกสาวนั้นทรยศไม่ยอมรับตนว่าเป็นมารดาทำให้นางเสียใจเป็นอย่างมาก จึงตรอมใจตายที่เขาบูโด จึงเป็นที่มาของภูเขาบูโด ส่วนลูกสาวกลายเป็นหินนั่นก็คือ เกาะเญอลาปี ในปัจจุบันเมื่อถึงช่วงมรสุมของทุกปี เมื่อมีพายุลมพัดแรงน้ำขึ้นเยอะ จะได้ยินเสียงที่เกาะเญอลาปีร้องขอความช่วยเหลือจากมารดา